วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ไทยใช้สำรวจทรัพยากร+ใช้งาน (Code :: 4921237051)


ดาวเทียมธีออส (Thailand Earth Observation System:THEOS)
เรียกว่าเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรหรือสำรวจพิภพดวงแรกของไทย มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม และโคจรสูงจากพื้นโลก 822 กิโลเมตร ดาวเทียมธีออสมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมายหลายประการด้วยกัน เช่น ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำและสามารถนำไปใช้ในการติดตามและประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เป็นข้อมูลการจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานของประเทศไทย ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก การคาดการณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ใช้ในการสำรวจศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง และใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของชุมชน อีกทั้งสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนพัฒนาการวางผังเมือง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปการต่างๆ โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีอยู่ในการพัฒนาหลายโครงการด้วยกัน เช่น โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมากจากพระราชดำริ การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
ดาวเทียม LANDSAT
ดาวเทียม LANTSAT อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การ NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดาวเทียม LANDSAT-1 ถูกส่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 นับเป็นดาวเทียมสำรวจดวงแรกของโลก และเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าด้านการสำรวจจากระยะไกล จนปัจจุบันได้มีการส่งดาวเทียม LANDSAT ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 5 ดวง โดยขณะนี้เฉพาะ LANDSAT-5 เท่านั้นที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ วงโคจร โคจรสูง 705 กิโลเมตร เอียง 98 องศา/โคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร เวลา 09:39 น./โคจรกลับมาที่เดิมในเวลา 16 วัน /ความกว้างของแนวถ่ายภาพ 185 กิโลเมตร
เครื่องวัด ของดาวเทียม LANDSAT
1. MSS ( multi spectral scanner )
2. TM ( thematic mapper )
เครื่องวัดทั้งสองเป็นเครื่องกวาดภาพแบบกลเชิงแสง ซึ่งสามารถทำการบันทึกภาพ 2 มิติ โดยอาศัยการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของดาวเทียม และการหมุนหรือแกว่งของกระจกในแนวตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวเทียม ข้อมูล ข้อมูล MSS และ TM จะอยู่ในลักษณะเป็นภาพมีขนาด 185 กิโลเมตร x 170 กิโลเมตร แต่ละภาพมีหมายเลขแนว ( path ) และแถว ( row ) ตามระบบอ้างอิงโลก ( world reference system–WRS) ตัวอย่างเช่นภาพประเทศไทยทั้งประเทศ ครอบคลุมโดยภาพรวมประมาณ 40ภาพ ของแนวที่ 125-132 และแถวที่ 46-57
การใช้ประโยชน์ข้อมูล
สถานีรับสัญญาณดาวเทียม LANDSAT มีอยู่ทั้งหมด 15 สถานีทั่วโลก ซึ่งข้อมูลจะถูกแจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้ เพื่อการจัดการทรัพยากร และเฝ้าตรวจสภาวะแวดล้อม
ดาวเทียม SPOT
ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศสดวงแรกถูกส่งขึ้นโคจรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2529และดวงที่สองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งปัจจุบันกำลังปฏิบัติงานอยู่ ส่วนดวงที่สามส่งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2536 ระบบบันทึกภาพของดาวเทียม SPOT เป็นกล้อง HRV ( high resolution visible ) สองตัว ซึ่งสามารถปรับมุมมองให้ถ่ายภาพคู่สเตริโอและภาพเฉียงได้ วงโคจร โคจรสูง 830 กิโลเมตร เอียง 98.7 องศา/โคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร เวลา 10:30 น./โคจรกลับมาที่เดิมในเวลา 26 วัน หรือ 4-5 วัน ถ้าถ่ายภาพในแนวเฉียง
เครื่องวัด
ระบบ HRV ไม่ใช่เครื่องวัดแบบกลเชิงแสง แต่เป็นกล้องถ่ายภาพซีซีดีเชิงเส้น ( linear CCD) ที่มีระบบกวาดภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ กล้อง HRV เปลี่ยนมุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา โดยการเปลี่ยนมุมมองของกระจก ทำให้กล้องสามารถมงอมายังตำแหน่งเดียวกันได้จากสองวงโคจร แต่ละคู่มุมมองทำให้ได้ภาพคู่สเตริโอ
ข้อมูล
ภาพจากกล้อง HRV ในแนวดิ่งล่างครอบคลุมพื้นที่ 60 กิโลเมตร x 60 กิโลเมตร ในขณะที่ภาพเฉียงที่มุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา ครอบคลุมพื้นที่ 81 กิโลเมตร x 81 กิโลเมตร ภาพแต่ละภาพจึงมีรหัสกำหนดด้วยหมายเลขแนว K และแถว J ตามระบบอ้างอิงกริดของ SPOT ( grid reference system – GRS ) ภาพที่มองในแนวดิ่งล่างจะมีจุดศูนย์กลางกำหนดด้วย K ที่เป็นเลขคี่สำหรับกล้อง HRV ตัวแรก ส่วนภาพถ่ายในแนวเฉียง จุดที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางที่สุดจะถือเป็นจุดศูนย็กลางภาพ
การใช้ประโยชน์ข้อมูล
ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT รับได้ที่สถานีภาคพื้นดิน 14 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพื้นแผ่นดิน และการทำแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 และมาตราส่วนที่เล็กกว่า
หมายเหตุ :: ดาวเทียม SPOT+LANDSAT สามารถถ่ายภาพดาวเทียมในประเทศไทยได้ โดยข้อมูลที่ได้ก็มาจากดาวเทียม 2 ตัวนี้