วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ไทยใช้สำรวจทรัพยากร+ใช้งาน (Code :: 4921237051)


ดาวเทียมธีออส (Thailand Earth Observation System:THEOS)
เรียกว่าเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรหรือสำรวจพิภพดวงแรกของไทย มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม และโคจรสูงจากพื้นโลก 822 กิโลเมตร ดาวเทียมธีออสมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมายหลายประการด้วยกัน เช่น ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำและสามารถนำไปใช้ในการติดตามและประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เป็นข้อมูลการจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานของประเทศไทย ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก การคาดการณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ใช้ในการสำรวจศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง และใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของชุมชน อีกทั้งสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนพัฒนาการวางผังเมือง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปการต่างๆ โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีอยู่ในการพัฒนาหลายโครงการด้วยกัน เช่น โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมากจากพระราชดำริ การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
ดาวเทียม LANDSAT
ดาวเทียม LANTSAT อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การ NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดาวเทียม LANDSAT-1 ถูกส่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 นับเป็นดาวเทียมสำรวจดวงแรกของโลก และเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าด้านการสำรวจจากระยะไกล จนปัจจุบันได้มีการส่งดาวเทียม LANDSAT ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 5 ดวง โดยขณะนี้เฉพาะ LANDSAT-5 เท่านั้นที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ วงโคจร โคจรสูง 705 กิโลเมตร เอียง 98 องศา/โคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร เวลา 09:39 น./โคจรกลับมาที่เดิมในเวลา 16 วัน /ความกว้างของแนวถ่ายภาพ 185 กิโลเมตร
เครื่องวัด ของดาวเทียม LANDSAT
1. MSS ( multi spectral scanner )
2. TM ( thematic mapper )
เครื่องวัดทั้งสองเป็นเครื่องกวาดภาพแบบกลเชิงแสง ซึ่งสามารถทำการบันทึกภาพ 2 มิติ โดยอาศัยการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของดาวเทียม และการหมุนหรือแกว่งของกระจกในแนวตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวเทียม ข้อมูล ข้อมูล MSS และ TM จะอยู่ในลักษณะเป็นภาพมีขนาด 185 กิโลเมตร x 170 กิโลเมตร แต่ละภาพมีหมายเลขแนว ( path ) และแถว ( row ) ตามระบบอ้างอิงโลก ( world reference system–WRS) ตัวอย่างเช่นภาพประเทศไทยทั้งประเทศ ครอบคลุมโดยภาพรวมประมาณ 40ภาพ ของแนวที่ 125-132 และแถวที่ 46-57
การใช้ประโยชน์ข้อมูล
สถานีรับสัญญาณดาวเทียม LANDSAT มีอยู่ทั้งหมด 15 สถานีทั่วโลก ซึ่งข้อมูลจะถูกแจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้ เพื่อการจัดการทรัพยากร และเฝ้าตรวจสภาวะแวดล้อม
ดาวเทียม SPOT
ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศสดวงแรกถูกส่งขึ้นโคจรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2529และดวงที่สองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งปัจจุบันกำลังปฏิบัติงานอยู่ ส่วนดวงที่สามส่งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2536 ระบบบันทึกภาพของดาวเทียม SPOT เป็นกล้อง HRV ( high resolution visible ) สองตัว ซึ่งสามารถปรับมุมมองให้ถ่ายภาพคู่สเตริโอและภาพเฉียงได้ วงโคจร โคจรสูง 830 กิโลเมตร เอียง 98.7 องศา/โคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร เวลา 10:30 น./โคจรกลับมาที่เดิมในเวลา 26 วัน หรือ 4-5 วัน ถ้าถ่ายภาพในแนวเฉียง
เครื่องวัด
ระบบ HRV ไม่ใช่เครื่องวัดแบบกลเชิงแสง แต่เป็นกล้องถ่ายภาพซีซีดีเชิงเส้น ( linear CCD) ที่มีระบบกวาดภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ กล้อง HRV เปลี่ยนมุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา โดยการเปลี่ยนมุมมองของกระจก ทำให้กล้องสามารถมงอมายังตำแหน่งเดียวกันได้จากสองวงโคจร แต่ละคู่มุมมองทำให้ได้ภาพคู่สเตริโอ
ข้อมูล
ภาพจากกล้อง HRV ในแนวดิ่งล่างครอบคลุมพื้นที่ 60 กิโลเมตร x 60 กิโลเมตร ในขณะที่ภาพเฉียงที่มุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา ครอบคลุมพื้นที่ 81 กิโลเมตร x 81 กิโลเมตร ภาพแต่ละภาพจึงมีรหัสกำหนดด้วยหมายเลขแนว K และแถว J ตามระบบอ้างอิงกริดของ SPOT ( grid reference system – GRS ) ภาพที่มองในแนวดิ่งล่างจะมีจุดศูนย์กลางกำหนดด้วย K ที่เป็นเลขคี่สำหรับกล้อง HRV ตัวแรก ส่วนภาพถ่ายในแนวเฉียง จุดที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางที่สุดจะถือเป็นจุดศูนย็กลางภาพ
การใช้ประโยชน์ข้อมูล
ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT รับได้ที่สถานีภาคพื้นดิน 14 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพื้นแผ่นดิน และการทำแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 และมาตราส่วนที่เล็กกว่า
หมายเหตุ :: ดาวเทียม SPOT+LANDSAT สามารถถ่ายภาพดาวเทียมในประเทศไทยได้ โดยข้อมูลที่ได้ก็มาจากดาวเทียม 2 ตัวนี้


วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม (Code :: 4921237051)

1. Packet Internet Packet Internet หรือ Inter - Network Groper

TIP : การค้นหา dot adress (เช่น 205.245.172.72) สำหรับการให้ชื่อ Domain ผู้ใช้ windows สามารถไปที่จอภาพ การ Dos prompt และเป็น ping xxx.yyy โดยที่ xxx เป็น domain name ระดับสอง เช่น "yahoo"และ yyy คือ domain name ระดับบน เช่น "com" ping เป็นโปรแกรมอินเตอร์เน็ตพื้นฐานที่ให้ตรวจสอบ IP address ที่มีอยู่ และสามารถยอมคำขอ ping ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อทำให้มั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ host ที่พยายามที่เข้าถึงด้วยการทำงาน

2. W-CDMA (Wideband Code-Division Multiple Access)

TIP : ที่เป็นมาตรฐาน ITU ที่มาจาก Code-Division Multiple Access (CDMA) รู้จักอย่างกว้างขวางในชื่อ IMT-2000 โดย W-CDMA เทคโนโลยีไร้สายเคลื่อนที่รุ่นที่สาม (3G) ที่ให้อัตราข้อมูลมากกว่ากับอุปกรณ์ไร้สายกระเป๋าหิ้วและเคลื่อนที่มากว่าการเสนอให้ในตลาดปัจจุบัน W-CDMA สามารถสนับสนุนการสื่อสารเสียง ภาพ ขขข้อมูล และวิดีโอ เคลื่อนที่ได้ถึง 2 Mbps (เครือข่ายท้องถิ่น) หรือ 384 Kbps (เครือข่ายพื้นที่กว้าง) สัญญาณนำเข้าเป็นดิจิตอลและส่งผ่านโปรโตคอลในรหัส โหมด spread-spectrum บนช่วงกว้างของความถี่ ตัวนำกว้าง 5 MHz เปรียบเทียบกับตัวนำ 200 KHz สำหรับ narrowband CDMA

3. Gateway

TIP : เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway

4. Analog

TIP : เทคโนโลยี analog เป็นการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิค โดยการรรวมสัญญาณ ของหลายความถี่หรือ ความกว้างคลื่น (amplitude) เพื่อนำคลื่นความถี่ของกระแส electromagnetic การกระจายเสียงและโทรศัพท์ที่ผ่านมาใช้เทคโนโลยี analog analog ยังมีความหมายว่า การแกว่ง การแปรขบวน หรือการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องของ กระบวนการ ซึ่งมักจะนำเสนอ ในรูปคลื่นแบบ sine เนื่องจากจุดเริ่ม ของคำนี้มาจากการแปลงสัญญาณคลื่นเสียง modem ใช้สำหรับแปลงข้อมูลดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบ analog เพื่อส่งเข้าสายโทรศัพท์ และแปลงสัญญาณแบบ analog เป็นดิจิตอล สำหรับส่งเข้า เครื่องคอมพิวเตอร์

5. Digital

TIP : digital (ดิจิตอล) การเป็นการอธิบายเทคโนโลยีอีเล็คโทรนิคส์ที่ใช้สร้าง เก็บ และประมวลข้อมูลในลักษณะ 2 สถานะ คือ บวก (positive) และไม่บวก (non-positive) บวก (positive) แสดงด้วย เลข 1 และไม่บวก (non-positive) แสดงด้วย เลข 0 ดังนั้น ข้อมูลส่งผ่าน หรือเก็บด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เป็นการแสดงด้วยข้อความของ 0 และ 1 แต่ละค่าของตำแหน่งสถานะเหล่านี้ เป็นการอ้างแบบ binary digital

6. Router

TIP : ในอินเตอร์เน็ต Router เป็นอุปกรณ์ หรือบางกรณีอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่ใช้หาจุดต่อไปของเครือข่าย ที่แพ็คเกตสามารถส่งไปยังจุดหมายปลายทางได้ router ต้องต่อกับเครือข่ายอย่างน้อย 2 ข่าย และตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สารสนเทศของแพ็คเกต ซึ่งทราบสถานะของเครือข่ายแล้ว ที่ต้องการติดต่อถึง router เป็นตำแหน่งของเชื่อมต่อของเครือข่าย หรือ gateway รวมถึง Internet POP โดยปกติ router เป็นตำแหน่งของระบบสวิชต์ของเครือข่าย

7. MAN (metropolitan area network)

TIP : เป็นเครือข่ายที่ติดต่อภายในของผู้ใช้ด้วยทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ในด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หรือภูมิภาคขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแบบ LAN แต่เล็กกว่าเครือข่ายแบบ WAN คำนี้ใช้กับการติดต่อภายในเครือข่ายในเมืองเป็นเครือข่ายเดี่ยวขนาดใหญ่ และใช้กับวิธีการติดต่อของเครือข่าย LAN หลายเครือข่ายโครงการเชื่อมด้วยสาย backbone เดียวกัน การใช้บางครั้งอ้างถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัย

8. Fiber Distributed-Data Interface (FDDI)

TIP : เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งข้อมูลบนสาายไฟเบอร์ออฟติค ที่สามารถขยายช่องได้ถึง 200 กิโลเมตร โปรโตคอล FDDI มีพื้นฐานจากโปรโตคอล token ring นอกจากจะใช้กับพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว FDDI ในเครือข่าย สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันคน เครือข่าย FDDI มี 2 token ring โดยตัวหนึ่งเป็นตัวสำรองกรณีที่ primary ring ไม่ทำงานโดย primary ring มีความสามารถส่งข้อมูลได้ 100 Mbps ถ้าไม่ใช้ secondary ring ในการสำรองแล้วการส่งข้อมูลจะขยายเป็น 200 Mbps การใช้ชุดเดียวสามารถขยายได้เต็มระยะทาง แต่ถ้าใช้ชุดคู่การทำงานจะเป็น 100 กิโลเมตร

9. Token ring

TIP : เครือข่ายแบบ token ring เป็นระบบเครือข่ายแบบ LAN ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อด้วย topology แบบ หรือ star และระบบเลขฐานสอง (หรือ token) เป็นแบบแผนการส่งที่ใช้ในการป้องกันการชนกันของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ที่ต้องการส่ง message ในเวลาเดียวกัน โปรโตคอลของ token ring ได้รับการใช้เป็นอันดับที่สองในระบบ LAN รองจาก Ethernet โปรโตคอล โดย IBM token ring ได้นำไปสู่มาตรฐานของ IEEE 802.5 ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองได้รับการใช้และคล้ายกันมาก การส่งข้อมูลของเทคโนโลยี IEEE 802.5 token ring ให้อัตราการส่งข้อมูล 4 -16 Mbps

10. Arcnet

TIP : Arcnet เป็นเทคโนโลยีที่ใช้อย่างกว้างขวางของ Datapoint ผู้ริเริ่มระบบเครือข่ายแบบ ซึ่ง Arcnet ใช้แบบแผนของ Token-bus ในการจัดการใช้งานร่วม ของเครื่องลูกข่ายและ อุปกรณ์ ที่ต่อพ่วงกับ เครื่องแม่ข่ายจะส่งข้อความแบบ empty message frame บนบัส อย่างต่อเนื่อง เมื่ออุปกรณ์ต้องการส่งข้อความจะแทรก "Token" (โดยตั้งค่าง่าย ๆ ให้กับ Tokenbit เป็น 1) เข้าไปใน empty message frame เมื่ออุปกรณ์ปลายทาง หรือเครื่องแม่ข่าย อ่านข้อความแล้ว จะตั้งค่า Token ใหม่เป็น 0 ทำให้ frame นั้นสามารถนำไปใช้ได้ แบบแผนนี้มีประสิทธิภาพมากเมื่อ traffic เพิ่มขึ้น เพราะอุปกรณ์ทุกตัว สามารถใช้ระบบ เครือข่าย ด้วยโอกาสเหมือนเดิม

11. Proxy server

TIP : ในระดับผู้ใช้แบบบริษัทขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ต Proxy server หมายถึงเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้ในระดับเครื่องลูกข่ายกับอินเตอร์เน็ต เพื่อทำให้บริษัทนั้นมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย การบริหารระบบ และการบริการแบบ caching ระบบ Proxy server สามารถทำงานร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของ gateway server เพื่อแยกระบบเครือข่ายของบริษัทออกจากเครือข่ายในอินเตอร์เน็ต และ firewall server ป้องกันการบุกรุกจากภายนอก Proxy server เมื่อได้รับคำสั่งติดต่อกับอินเตอร์เน็ตจากผู้ใช้ จะทำการกรองความต้องการโดยมองหาใน cache ที่มีการ Download เว็บเพจไว้ เมื่อพบแล้วจะส่งไปให้ผู้ใช้ โดยไม่ต้องติดต่อกับอินเตอร์เน็ต แต่ถ้าไม่พบ Proxy server จึงจะส่งต่อคำสั่งไปยังอินเตอร์เน็ต

12. Categories of twisted pair cabling systems

TIP : มาตรฐาน 568 ของ ANSI/EIA หรือ ANSI/EIA (American National Standards Institute/Electronic Industries Association) Standard 568 คือ มาตรฐานหนึ่งที่ระบุหมวดหมู่ (Category) ที่เรียกเป็นคำเดียวด้วย “CAT” ของระบบเคเบิล twisted pair (สาย และการเชื่อมต่อ) ในด้านอัตรข้อมูลที่สามารถเป็นผล ข้อกำหนดอธิบายวัสดุเคเบิล ประเภทของ connector และ junction block

13. GPRS General Packet Radio Services (GPRS)

TIP : เป็นบริการด้านการสื่อสารไร้สายแบบแพคเก็ตที่ยอมให้อัตราข้อมูลจาก 56 ถึง 114 kbps และการเชื่อมต่อเนื่องกับอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ อัตราข้อมูลสูงกว่าจะยอมให้ผู้ใช้เข้าร่วมการประชุมทางไกล (video conference) และปฏิสัมพันธ์กับเว็บมัลติมีเดียและโปรแกรมประยุกต์คล้ายกันด้วยการใช้อุปกรณ์ handheld เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค GPRS มีพื้นฐานบนการสื่อสารแบบ Global System for Mobile (GSM) และจะทำให้บริการสมบูรณ์ เช่น การเชื่อมต่อโทรศัพท์เซลลูลาร์ด้วย circuit-switched และ Short Message Service (SMS)

14. TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

TIP : เป็นระบบโปรโตคอล การสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต มันสามารถใช้เป็น โปรโตคอลในการสื่อสารภายใน เครือข่ายส่วนบุคคล เรียกว่า intranet และ extranet เมื่อมีการติดต่อโดยตรงกับ internet เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการคัดลอกโปรแกรม TCP/IP เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำให้ส่งข้อความขอรับสารสนเทศ

15. Telephony Application Program Interface TAPI

TIP : เป็นโปรแกรมอินเตอร์เฟซมาตรฐานที่ให้ผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ “พูด” ผ่านโทรศัพท์กับประชาชนหรือแหล่งเชื่อมต่อโทรศัพท์ทุกที่ในโลก สมมติว่าเคื่องพิวเตอร์ติดตั้งด้วย TAPI และตั้งค่ารวมถึงโปรแกรมประยุกต์ถูกต้องและฮาร์ดแวร์